ฉายแสงกระตุ้นรากผมมีประโยชน์จริงหรือ

ปลูกผม

ฉายแสงกระตุ้นรากผมมีประโยชน์จริงหรือ

ในปกติแต่ละวันของเราจะมีผมร่วงประมาณ 100-200 เส้น จากหนังศีรษะ ในบางท่านเส้นผมจะสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ แต่ในบางท่านอาจจะพบปัญหาผมบางลง เส้นเล็กและไม่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น

แน่นอนว่าการรักษาผมบางที่เราทราบกันดีนั้น มีดังต่อไปนี้

  1. การใช้ยารับประทาน finasteride, minoxidil
  2. การใช้สเปรย์พ่น
  3. การฉีด PRP กระตุ้นรากผม
  4. การปลูกผมย้ายราก Hair transplant
  5. การฉายแสงกระตุ้นรากผม Laser therapy

การฉายแสงกระตุ้นรากผม ได้ผลจริงไหม??

การฉายแสง หรือที่เราเรียกกันว่า Low level light therapy ในที่นี้เราจะหมายถึงการใช้คลื่นแสงฉายไปบริเวณที่หนังศีรษะ โดยใช้ความยาวคลื่นที่ 630-670 nm

ส่งผลให้ลำแสงเลเซอร์ไปกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและลำแสงจะถูกดูดซึมโดย mitochondria ของเซลล์ทำให้ เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงเซลล์รากผมได้รับออกซิเจนมากขึ้น ส่งผลให้กระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม ทำให้ช่วงระยะเวลาของเส้นผมในแต่ลงช่วงยาวนานยิ่งขึ้น ทำให้ผมดูหนาขึ้น มักนิยมใช้คู่กับการรักษาชนิดอื่น

นอกจากนั้นในทางการแพทย์ ยังนำแสง Low level light นี้เพื่อกระตุ้นการรักษาแผลผ่าตัด หรือลดการอักเสบต่าง ๆได้อีกด้วย

Hair-13
Hair-13

ตัวอย่างผลงานวิจัย

  •  low-level laser therapy ปลอดภัยในการใช้กระตุ้นรากผมทั้งผู้ชายและผู้หญิง อ่าน
  • งานวิจัยระบุว่าการใช้แสง  low-level laser therapy สามารถทำให้ผมขึ้นใหม่ได้ถึง 39% ใน 16 สัปดาห์ อ่าน

ข้อดีของการฉายแสงกระตุ้นรากผม

  • ไม่เจ็บ
  • ใช้เวลาไม่นาน
  • ไม่มีผลข้างเคียง
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเส้นผม
  • ลดอาการคันและอักเสบบริเวณหนังศีรษะ

ระยะเวลาการเข้ารับบริการ

ใช้เวลาครั้งละ 15-20 นาที สามารถทำได้ทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง

สรุป

การใช้เลเซอร์/ฉายแสง มีหลักฐานว่าช่วยเรื่องภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์ในระดับหนึ่งครับ ทำให้เส้นผมที่บางกลับมาหนาขึ้น แต่ไม่ได้ถึงกับมาใช้แทนการรักษาด้วยยาได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้แผลหายไวขึ้นได้ ลองสังเกตบางที่จะให้ฉายแสงหลังผ่าตัดเสริมจมูกด้วย

ในด้านการปลูกผม ก็มีแนวโน้มเช่นกันว่าจะช่วยให้กราฟรอดชีวิตมากขึ้นและขึ้นไวขึ้น แต่จริงๆ กราฟก็ควรจะรอดอยู่แล้วถ้าปลูกเป็นไปได้ด้วยดี
คำแนะนำคือ ใช้ดีกว่าไม่ใช้ ถ้ามีงบก็ซื้อใช้ได้ครับ แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ครับ

เขียนบทความโดย

นายแพทย์ ปฐมภพ คุณกิตติ (หมอดิว)

Pathompob Khunkitti, MD.

อ่านบทความเพิ่มเติม
l การรักษาผมบางมีวิธีใดบ้าง
minoxidil
ฉายแสงผม
ฉีดเกล็ดเลือด PRP

บทความน่ารู้