Male pattern hair loss (Androgenic alopecia)
Male pattern hair loss อาการผมร่วงในผู้ชายที่เกิดจากฮอร์โมนเพศ DHT พบได้มากถึง 50% ในผู้ชายอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจาก พันธุกรรม และ จากการที่ระดับเอนไซม์ 5α-reductase (5-alpha reductase) ที่บริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วเอนไซม์นี้มีหน้าที่เปลี่ยน ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) ไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (dihydrotestosterone หรือ DHT)
ซึ่งฮอร์โมน DHT เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะเล็กลง ผู้ที่มีอาการผมบางแบบพันธุกรรมจะมีระดับเอนไซม์ 5α-reductase เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้เส้นผมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง บางลง ความยาวเส้นผมลดลง รวมถึงสีผมอ่อนลงด้วย นอกจากนั้นเมื่อรากผมฝ่อลงเรื่อยๆจะทำให้ไม่สามารภสร้างผมใหม่ได้อีก จึงเกิดอาการผมบางและหลุดร่วงตามมา จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้าน
Male pattern hair loss สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
– อาการผมบางจากฮอร์โมน DHT นั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ตัวโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆใช้ระยะเวลาหลายปี
การดูแลรักษา
1. การใช้ยา
- 5% minoxidil สเปรย์ หรือ พ่น บริเวณหนังศีรษะ สามารถช่วยลดระยะเวลาในการเกิดภาวะนี้ และ ลดอาการผมร่วงได้ การใช้ยาชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ในระยะยาว 6 เดือนขึ้นไป ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาที่พบได้คือ อาการหนังศีรษะแห้ง แดง ระคายเคือง ในช่วง 2-8 สัปดาห์แรกสามารถพบอาการผมร่วงได้ปกติ อาการผมร่วงจะค่อยๆลดลงเมื่อผมใหม่เริ่มขึ้น1
- finasteride ยาเม็ดลดระดับ ฮอร์โมน dihydrotestosterone ในร่างกาย สามารถช่วยลดอาการผมร่วงอละเพิ่มการงอกใหม่ของเส้นผมได้ การใช้ยาชนิดนี้ต้องใช้ในระยะยาวเพื่อผลการรักษาที่ดี
ผลข้างเคียงที่พบได้คือ สมรรถภาพทางเพศลดลง หากเลิกใช้ยามักผมอาการผมร่วงได้ ปกติ
2. การใช้ wig รือ hair piece
การสัก หรือ เพ้น์ลาย skin camouflage or tattoo เป็นอีกิธีหนึ่งที่นิยมทำเพื่อการปกปิดบริเวณที่มีปัญหา
ในปัจจุบันเป็นวิธีการผ่าตัดปลูกผมแบบย้ายรากเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสามารถทำได้หลายวิธีโดยปกติมักจะเป็นการนำรากผมด้านหลังศีรษะที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน DHT มาปลูกในบริเวณที่มีปัญหา ทำให้ได้แนวไรมใหม่ เสริมสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น อ่านเรื่องการผ่าตัดปลูกผม