รังแค Dandruff

รังแค-02

รังแค (Danduff)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหารังแคสร้างความรำคาญใจในการใช้ชีวิตให้กับหลายๆท่าน 

รังแคคืออะไร???

รังแค เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับหนังศีรษะและพบได้บ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย ถือว่าเป็นโรคของหนังศีรษะเรื้อรัง ที่มีลักษณะเฉพาะตัว บางคนมีรังแคมาก บางคนมีน้อยจนถึงไม่มีเลย

โดยปกติแล้วเซลล์หนังศีรษะที่เกิดใหม่ จะค่อยๆ เลื่อนจากใต้ผิวหนังขึ้นมาอยู่ชั้นบนสุด และหลุดออกไปภายในเวลา ประมาณ 28 วัน เซลล์ที่หลุดออกจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ถ้าวงจรนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้น

เซลล์ที่หลุดออกมาจะเป็นขุยสีขาวหรือสีเทา มีขนาดใหญ่ และจะมีอาการคันศีรษะร่วมด้วย เรียกอาการนี้ว่า รังแค

โดยปกติหลังการสระผมจะมีสะเก็ดผิวหนังหลุดลอกประมาณ 487,000cells/sq cm แต่ในกรณีที่รังแคเกิดจากตัวโรคอย่างอื่นสามารถมีสะเก็ดผิวหนังหลุดลอก ได้ถึง800,00 0/sq cm คลิกเพื่ออ่านงานวิจัยเรื่องรังแค

รังแค-01

ปัญหารังแค สังเกตได้ดังนี้

1.มีสะเก็ดสีเหลืองหรือขาว มีลักษณะมันวาวเป็นแผ่นแบนหรือแผ่นบาง ๆ หลุดออกมาจากหนังศีรษะ 
2.
หนังศีรษะมันและแดง เป็นสะเก็ด มีอาการคันที่บริเวณหนังศีรษะร่วมด้วย
3.
มักจะพบว่าเป็นมากในช่วงอากาศหนาวเย็น

สาเหตุของการเกิดรังแค มีอะไรบ้าง?

1. โรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) เป็นภาวะที่ทำให้ผิวหนังมัน แดง และเป็นสะเก็ด สามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณในร่างกายที่มีต่อมน้ำมัน รวมไปถึง คิ้ว ขาหนีบ รักแร้ หรือบริเวณข้างจมูก และสำหรับภาวะผิวหนังอักเสบที่เกิดในเด็กจะเรียกว่า ภาวะผิวหนังอักเสบในเด็กทารก (Cradle Cap)

2. โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) เป็นภาวะที่เชื้อราได้กระจายตัวลึกลงไปยังรูขุมขน ก่อให้เกิดอาการคันที่หนังศีรษะและอาจทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมได้

3. ชื้อยีสต์ (Malassezia) หรือ (Pityrosporum) ซึ่งเชื้อราเหล่านี้จะอยู่ที่หนังศรีษะ และจะคอยกินน้ำมันที่สร้างมาจากต่อมรากผมและต่อมไขมันเป็นอาหาร ในบางครั้งถ้าเชื้อราเหล่านี้มีการเติบโตที่รวดเร็วแบบผิดปกติ จนก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังศรีษะ พบได้ว่า การตายเซลล์ที่แบ่งตัวออกมานั้น นำไปสู่รังแคในที่สุด

4. การสระผมด้วยแชมพูกระด้างบ่อยเกินไป

5. การใช้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งทรงผมบางชนิด การแพ้สารเคมีหรือน้ำยาบางอย่างภาวะโภชนาการไม่ดี

6. ความเครียด

รังแค-03

มื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์ ?

โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีรังแคไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ เพราะสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง แต่หากพบว่าหนังศีรษะมีอาการของโรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) หรือภาวะเชื้อราบนหนังศีรษะ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับยา

ภาวะแทรกซ้อนของรังแค

รังแคไม่ได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่อาจทำให้เกิดความรำคาญใจจากอาการคันหนังศีรษะ และอาจทำให้ผู้ที่เป็นเสียความมั่นใจและทำให้เสียบุคลิกได้ 

การรักษารังแค

1. การดูแลสมดุลของ ยีสต์ (Yeast)

  ใช้แชมพูจัดรังแคที่มีส่วนประกอบในการยับยั้งเชื้อราเช่น Ketoconazole, Cyclopirox  ช่วยลดปริมาณเชื้อบนหนังศีรษะและทำให้รังแคดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการฟอกแชมพู่ไว้บนศีรษะ5-10 นาที ก่อนล้างออก ผลข้างเคียงที่พบได้คือมักทำให้ผมแห้ง  และกลิ่นอาจจะไม่หอมนัก แชมพูนี้สามารถช่วยลดการหลุดร่วงของผมได้ด้วย อ่านเรื่องอาการผมร่วงจากฮอร์โมนเพิ่มเติมได้ที่นี่

2. การรักษาสมดุลของหนังศีรษะ

ในคนที่หนังศีรษะแห้ง ควรงดการใช้น้ำอุ่นสระผม  การใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ชโลมศีรษะข้ามคืนก่อนสระออก ช่วยทำให้หนังศีรษะไม่แห้งเกินไป

3. วินัยในการดูแลสุขภาพกาย และ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม

ปรับสมดุลร่างกาย โดยการลดความเครียดและความวิตกกังวล รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ กินอยู่หลับนอนให้เป็นสุข

อาหาร ควรรับประทานให้ได้สมดุล มักพบการขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดในผู้ป่วย เช่นวิตามิน B2 B6 B9 Biotin สังกะสี (Zinc)

การรับประทานอาหารเสริมในกลุ่ม Fish oil Krill oil  ก็อาจจะทำให้หนังศีรษะที่แห้งดีขึ้น

Cosmo Clinic

เนื่องจากทีมแพทย์ให้ความสำคัญถึงปัญหาเฉพาะบุคคล แบบ personalize care การออกแบบทรงผม การดูแลรักษา และค่าใช้จ่ายคุ้มค่าคุ้มราคา ได้มาตรฐานการรักษาเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำ

callbuttoncosmoaddline

บทความน่ารู้