ภาวะ shock loss คืออะไร

shock loss

ภาวะ shock loss คืออะไร เกิดได้บ่อยแค่ไหน หากเกิดแล้วจะหายไหม

หากคุณกำลังศึกษาเรื่องการปลูกผม คุณอาจจะเคยเห็นคำว่า shock loss ผ่านตามาบ้าง ไม่มากก็น้อยหรือบางครั้งอาจจะเรียกว่าการผลัดผม หรือการพักตัวของเส้นผม ในบทความนี้เราจะมาอธิบายว่าภาวะshock loss คืออะไร เกิดได้บ่อยแค่ไหน น่ากลัวหรือไม่

shockloss

ภาวะ shock loss คืออะไร

ภาวะ shock loss คือภาวะผมร่วงหลังจากการปลูกผมไม่ว่าจะเป็นเทคนิค FUE หรือ FUT ก็ตาม โดยจะเกิดตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 จนถึง 8 หลังจากการปลูกผม ซึ่งกลไกการเกิดภาวะนี้เกิดจากการที่เส้นผมแต่ละเส้นได้รับความเครียดมากกว่าภาวะปกติ โดยความเครียดนี้ อาจจะเกิดจากการบาดเจ็บของรากผมหรือบริเวณผิวหนังโดยรอบ ไม่ว่าจะจากขั้นตอนการเจาะหรือการปลูกก็ตาม นอกจากนี้ ภาวะ shock loss ยังอาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การใช้ยาชาที่มาเกินไป หรือระยะเวลาผ่าตัดที่นานเกินไป เช่น 12 ชั่วโมงเป็นต้น

แน่นอนว่าที่คอสโมคลินิก ทีมแพทย์ของเรามีความชำนาญในการดูแลกราฟเป็นอย่างดีและสามารถปลูกได้อย่างรวดเร็วเหมาะสม แต่การเจาะกราฟออกมาแต่ละเส้น ยังมีความจำเป็นต้องใช้เข็มและเครื่องมือชนิดพิเศษเพื่อเจาะรูบริเวณผิวหนังเพื่อให้ได้รากผมที่แข็งแรง การบาดเจ็บของผิวหนังก็ส่งผลให้เกิดความเครียดกับเส้นผมได้

ผมร่วงด้านหน้า

ภาวะ shock loss ด้านหน้า หรือ recipient area

ภาวะ shock loss สามารถเกิดได้ใน 5% ของประชากรที่ทำการปลูกผม โดยมักจะเกิดกับเส้นผมที่อยู่ในภาวะที่กำลังจะพักตัว โดยการบาดเจ็บของเส้นผมจะเร่งให้ผมเข้าสู่ภาวะนี้ได้ไวขึ้น เมื่อเส้นผมเข้าสู่ภาวะนี้จึงทำให้เกิดการผลัดผมออกมา การหลุดร่วงลักษณะนี้อยู่ชั่วคราว ไม่ใช่ภาวะที่จะอยู่ถาวร หากได้รับการดูแลอย่างดีและเหมาะสม รากผมจะยังมีชีวิตและมีความแข็งแรง เส้นผมจะค่อยๆ กลับมาขึ้นในช่วง6-12 เดือน

หลังจากการปลูกผมบริเวณด้านหน้าไป ในบางเคสการผลัดผมอาจจะเยอะจนผู้ที่ปลูกไปรู้สึกว่ากราฟไม่ติดเนื่องจากเส้นผมหลุดร่วงหมดเห็นเพียงหนังศีรษะเรียบๆ อย่างเดียว หรือในบางเคส เส้นผมอาจจะหลุดร่วงแต่ไม่ได้หลุดทั้งหมด จึงทำให้คิดว่ากราฟไม่แน่น แต่ความเป็นจริงแล้ว ตัวเส้นผมจะกลับมาขึ้นยาวในช่วง 6-12 เดือน

การดูแลเส้นผมด้านหน้าในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด ควรงดการออกกำลังกายหนักหรือการสัมผัสลูบคลำบริเวณที่ปลูก รวมไปถึงการนอนควรระวังไม่ให้ใบหน้าไปถูบริเวณหมอน เพื่อให้กราฟติดกับผิวหนังศีรษะได้อย่างเต็มที่

การดูแลเส้นผมด้านหน้าในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด ควรงดการออกกำลังกายหนักหรือการสัมผัสลูบคลำบริเวณที่ปลูก รวมไปถึงการนอนควรระวังไม่ให้ใบหน้าไปถูบริเวณหมอน เพื่อให้กราฟติดกับผิวหนังศีรษะได้อย่างเต็มที่

ภาวะ shock loss บริเวณด้านหลัง หรือ donor area

การปลูกผมแบบ FUE จะเป็นการปลูกผมแบบเจาะรากผมจากบริเวณท้ายทอยด้านหลังออกมาทีละรากทีละกราฟ โดยหากมีภาวะ shock loss เกิดขึ้น ลักษณะผม “เดิม” ของผู้ที่ปลูก จะมีการผลัดและร่วงเป็นหย่อมๆ ทำให้เห็นหนังศีรษะชัดเจนและขาวมากขึ้น ทำให้เกิดการกังวลใจได้

โดยหลังจากที่เจาะเสร็จแล้วรูขุมขนที่แพทย์เจาะออกไปจะไม่มีรากผมอีก แต่เทคนิคการปลูกผมแบบFUE นั้น แพทย์จะกระจายรูที่เจาะกราฟผมออกมา เพื่อให้ความแน่นของผมภายนอกยังดูแน่น ไม่บางลงมากนัก และจะไม่ทำให้เกิดลักษณะของการเห็นหนังศีรษะล้านเป็นหย่อมๆ เหมือนในภาวะ shock loss

ในขั้นตอนการเจาะด้านหลังนั้น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือชนิดพิเศษเพื่อเจาะบริเวณผิวหนัง เพื่อให้ได้ความลึกถึงรากผมที่ต้องการ การเจาะรูบริเวณผิวหนังจึงอาจทำให้รากผมเดิมของผู้ปลูกได้รับความเครียด และเข้าสู่ภาวะผลัดผมได้เร็วกว่าปกติทั่วไป

ภาวะ shock loss แบบถาวร เกิดขึ้นได้ไหม

เกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อย โดยกลไกการเกิดภาวะ shock loss ลักษณะนี้ จะคล้ายๆ กับที่กล่าวมาข้างต้น คือการที่รากผมได้รับบาดเจ็บ แต่หากรากผมเดิมของผู้ปลูกถูกอิทธิพลของฮอร์โมน DHT ซึ่งทำให้รากผมอ่อนแอและเล็กลงอยู่แล้ว เมื่อผมผลัดออกไป อาจจะไม่กลับขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้เป็นแบบถาวร

หากไม่เกิดการผลัดผมหรือ shock loss จะถือว่าผิดปกติหรือไม่

ในเคสที่ไม่เกิดการผลัดผม อาจจะเกิดจากการที่เส้นผมที่ปลูกไป ไม่ได้รับความเครียดหรือการบาดเจ็บจากการปลูกผม หรือได้รับความเครียดแต่ไม่ได้ทำให้เข้าสู้ภาวะพักตัวของเส้นผม ทำให้ผมที่ปลูกค่อยๆยาวขึ้นอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับผมเดิมของผู้ปลูก ผมที่โตขึ้นและยาวในลักษณะนี้ไม่ได้มีปัญหาในระยะยาว ไม่จำเป็นต้องกังวลหรือดึงออก

ป้องกัน shock loss ได้หรือไม่และทำอย่างไรให้หายไวขึ้น

การเกิด shock loss ย่อมทำให้ผู้ปลูกเกิดการกังวลอย่างแน่นอน การใช้ยาบางชนิดเช่น minoxidil สามารถทำให้ระยะเวลา shock loss ลดลง และช่วยทำให้ผมกลับมาขึ้นได้ไวขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้ยาminoxidil ไม่ได้มีผลต่อความสำเร็จของการปลูกผมโดยรวม และไม่ได้ลดโอกาสการเกิด shock loss หลังจากการปลูกผมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้ยากลุ่มนี้ ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อปรับขนาดยาและติดตามผลข้างเคียงก่อนจะเริ่มยา

บทความน่ารู้