ปลูกผม DHI

dhi

จากงานวิจัยพบว่าผู้ชายมีผมบางมากกว่า 85% ในช่วงอายุประมาณ 50 ปี และพบว่ามากกว่า 50% ในผู้หญิงต้องเคยมีประสบการณ์ผมบางผมร่วงในชีวิต

การผ่าตัดปลูกผมนั้นเป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยลดการผมบาง ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ในปัจจุบันวิธีที่ได้รับความนิยมมี 2 วิธี คือ Follicular Unit Transplantation (FUT) วิธีตัดหนังศีรษะบริเวณท้ายทอยเพื่อแยกกราฟผมมาใช้ และ Follicular Unit Extraction (FUE) วิธีการเจาะกราฟผมออกมาทีละกอทีละเส้น

การปลูกผมแบบ DHI

Direct Hair Implantation (DHI) เป็นวิธีที่พัฒนามาจากการทำ Follicular Unit Extraction (FUE) โดยการใช้ปากกานำปลูกหรือ Implanter Pen เข้ามาช่วย

ในการปลูกผมแบบ FUE ปกตินั้น ในขั้นตอนการปลูกผมบริเวณด้านหน้า แพทย์ที่ทำการผ่าตัดจะต้องทำการเจาะรูเปิดเพื่อใส่รากผมเข้าไปในบริเวณต้องการปลูกก่อน หลังจากนั้นจะใช้ที่คีบ (forcep) หนีบกราฟผมแต่ละกราฟใส่ลงไปตามรูที่ทำการเปิดไว้ในตอนแรก แต่ด้วยเทคนิค DHI แพทย์ไม่จำเป็นต้องทำการเปิดรูแผลก่อน สามารถใช้ตัวปากกาปักกราฟผมลงไปที่ศีรษะได้เลย

ปากกาเจาะรากผม implanter pens

ปากกาเจาะรากผมหรือ Implanter pen มีหลากหลายแบบให้เลือกใช้ ทั้งนี้อยู่ที่ความถนัดของแพทย์ และ ทีมงาน ชนิดของปากกามีดังต่อไปนี้

1) ปากกาปักผมปลายแหลม Sharp Needle Pen Implanter

  • CHOI implanter pen
  • KNU implanter pen
  • Lion implanter pen
  • OKT implanter pen
  • HWANG implanter pen

2) ปากกาปักผมปลายทู่ Dull Needle Pen Implanter

  • KEEP implanter pen
  • Rainbow implanter pen

หลักการทำงานของ DHI

DHI เป็นเทคนิคที่ดัดแปลงมาจากการทำ FUE แบบปกติ โดยอาศัยการใช้ปากกาปักผมหรือที่เรียกว่า implanter pen ช่วยในการปักด้านหน้า โดยแพทย์จะมีวิธีการนำกราฟผมออกจากด้านหลังศีรษะเหมือนการทำ FUE ปกติ

  1. ออกแบบแนวเส้นผม และ ไรผม โดยคำนึง โครงหน้า อายุ และ บุคลิกของแต่ละคน
  2. การประเมินผมโดยระบบคอมพิวเตอร์ ประเมินโครงสร้าง คุณภาพของเส้นผม และ ประเมินกราฟผมที่นำออกมาใช้
  3. แพทย์ทำการโกนผมบริเวณที่ต้องการนำกราฟผมออกมาใช้
  4. ทำการฉีดยาชาด้านหลังศีรษะ คนไข้จะยังรู้สึกตัวตลอดเวลา
  5. แพทย์ใช้เครื่องเจาะขนาดต่างๆเพื่อทำการเจาะและดึงกราฟผมออกมา โดยทางคลินิกมีหัวเจาะหลายขนาด มีขนาดเล็กพิเศษ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บบริเวณโดยรอบของเส้นผม
  6. กราฟผมจะถูกนำมาคัดแยก โดยกราฟผมที่นำออกมามีตั้งต่ 1-4 เส้น จากนั้นนำไปแช่เลี้ยงในสารละลายพิเศษ ซึ่งทำให้ผมขึ้นได้สูงถึง 95-98%
  7. หลังจากนั้นทำการฉีดยาชาด้านหน้า และตัดแต่งกราฟเพื่อนำส่วนที่ไม่ต้องการออกไป แล้ว แพทย์จะนำกราฟไปโหลดใส่ปากกา implanter pen และนำไปปักลงทีละกราฟ การใช้ปากกาจะทำสามารถควมคุมองศาตามแนวไรผมเดิม และทำการปลูกได้ถี่และแน่นขึ้น หลังทำจะเห็นว่าผมไม่มีจุดไข่ปลา และ ผมแน่นกว่าปกติ

ในกระบวนการปลูกผมทั้ง FUE DHI ใช้ระยะเวลาประมาณ 8 -12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนกราฟที่ต้องการปลูก ความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ และ ปัจจัยอื่นๆของคนไข้

กราฟผมคืออะไร

กราฟผม คือ รากผม ที่แพทย์จะทำการเจาะจากบริเวณด้านหลังของศีรษะออกมา เพื่อนำไปปลูกผม ในปกติ 1 กราฟ จะมีเส้นผมอยู่รวมกันตั้งแต่ 1-4 เส้น โดยจำนวนกราฟที่ใช้ในการปลูกผมของแต่ละคนนั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละคน แพทย์จะเป็นผู้ประเมินก่อนทำการผ่าตัดให้ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติมากที่สุด

อ่านเรื่องกราฟผมเพิ่มเติม

ข้อปฏิบัติตัวก่อนการปลูกผม DHI

เพื่อให้การปลูกผมได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และ ลดความเสี่ยงต่างๆ ก่อนปลูกผมมีข้อปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

  1. งดใช้ยาในกลุ่ม Aspirin อาจจะทำให้เลือดออกง่ายหยุดยาก
  2. งดใช้ยาในกลุ่ม Beta blocker
  3. งดวิตามิน อาหารเสริม
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
  5. งดทานอาหารหมักดอง
  6. งดออกกำลังกายหักโหม
  7. สวมเสื้อเชิ๊ตกระดุมหน้าเพื่อง่ายต่อการถอดและสวมใส่ไม่ให้โดนกราฟบริเวณศีรษะ

ข้อปฏิบัติตัวหลังการปลูกผม DHI

  1. นอนยกศีรษะสูง 45 องศา ในช่วง 2-3 วันแรก
  2. งดดื่มแอลกอฮอล์
  3. งดสูบบุหรี่
  4. งดออกกำลังกายหรือยกของหนัก
  5. สวมหมวกผ้าก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง
  6. งดสวมหมวกกดทับบริเวณแผลผ่าตัด
  7. อย่าให้สะเก็ดแผลโดนน้ำ
  8. ทำความสะอาดดูแลแผลหลังผ่าตัด
  9. รับประทานยา หรือ พ่นสเปรย์
  10. งดแกะเกาสะเก็ดแผล

ใครที่เหมาะสมกับการปลูกผมแบบ DHI

คนไข้ที่มีปัญหา หรือ ภาวะผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย androgenic alopecia ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด สามารถปลูกได้ทั้งคนที่มีลักษณะผมบางแบบ male pattern hair loss  และ female pattern hair loss 

ปัจจัยอื่นๆที่เหมาะสมกับการปลูกผม

  • อายุ คนไข้ควรมีอายุเกิน 18 ปีขึ้นไป 
  • ขนาดของเส้นผม คนไข้ที่ผมมีหนาอยู่แล้ว จะมีโอกาสที่ผลลัพธ์จากการปลูกผมดีกว่าคนที่มีผมบาง
  • จำนวนของเส้นผมบริเวณที่จะนำกราฟผมออกมา (Donor area) มีปริมาณมากพอ คนไข้ที่มีภาวะผมบางมากๆ และมีความหนาแน่นของเส้นผมในบริเวณที่จะนำกราฟผมออกมาใช้ควรมีจำนวนเส้นผมมากกว่า 40 กราฟ/ตร.ซม. 
  • สีผม คนไข้ที่มีผมสีอ่อน เช่น เชื้อชาติยุโรป จะได้ผลลัพธ์ในการปลูกผมที่ดีกว่า
  • ความคาดหวัง การปลูกผมเป็นการทำศัลยกรรมชนิดหนึ่งซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างในแต่ละบุคคล 

DHI ดีกว่า FUE จริงหรือไม่

ในการผ่าตัดแบบ FUT แพทย์จะทำการผ่าตัดชิ้นของหนังศีรษะให้เป็นแถบเล็กๆ และนำมาปลูกบริเวณด้านหน้า วิธีนี้จะสามารถปลูกผมที่ต้องใช้จำนวนกราฟมากๆได้ค่อนข้างเร็ว แต่จะทิ้งรอยแผลเป็นเส้นยาวและหนาไว้ที่ศีรษะด้านหลัง ซึ่งสามารถซ่อนรอยแผลเป็นได้ด้วยการไว้ผมยาวมาบังรอยนั่นเอง

ในการผ่าตัดแบบ FUE คือการนำรากผมทีละราก ทีละกอ จากด้านหลังศีรษะมาทำการปลูกบริเวณด้านหน้าโดยอาศัยเครื่องมือในการเจาะรูก่อนแล้วนำกราฟมาใส่อีกครั้งนึง

การใช้ปากกาปักผม DHI จะลดขั้นตอนในการเจาะรูเปิดแผลลงทำให้ลดระยะเวลาในการทำได้ โดยการดึงรากผมจากด้านหลังแล้วโหลดเซลล์เข้าไปในปากกาปลูกผม ในบางประเทศจำเป็นจะต้องให้แพทย์เท่านั้นเป็นคนปลูก โดยที่ปากกาไม่ต้องเจาะรูก่อนสามารถปักลงไปได้เลย ขึ้นกับประสบการณ์ และ ความชำนาญของคนปลูก

ข้อดีที่สุด คือ มีความถี่ที่สูง มีความแน่น และดูเป็นธรรมชาติ ไม่มีการทำให้เส้นผมเดิมที่อยู่บริเวณรอบๆบาดเจ็บ และ มีรอยแผลเล็กกว่าแบบ FUE 

ผลลัพธ์หลังการรักษา

ผลข้างเคียงที่พบได้

ในการผ่าตัดปลูกผมถาวรนั้นมีความเสี่ยงต่ำ อัตราความสำเร็จสูง และเกิดรอยแผลเป็นได้น้อยกว่าแบบ FUT แต่อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้มีดังต่อไปนี้

อาการแพ้ยาชา

ในขณะที่ทำการผ่าตัดปลูกผมแบบ DHI แพทย์จะทำการฉีดยาชาทั่วๆหนังศีรษะเพื่อบรรเทาอาการปวด และ ลดการเลือดออก ซึ่งโดยปกติการฉีดยาชาเฉพาะที่ เป็นหัตถการที่ความเสี่ยงต่ำ ภาวะแทรกซ้อนเกิดได้น้อยในการทำหัตถการ แต่อาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ค่อยสบายในตอนทำได้

การติดเชื้อ

ลักษณะของการติดเชื้อในบริเวณที่ปลูกผมมักจะเกิดขึ้นใน 1-7 วันแรกหลังการผ่าตัด โดยเราจะสามารถพบลักษณะของตุ่มหนอง คล้ายสิว แต่เม็ดใหญ่กว่า มีหัวสีขาว และขนาดจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ การติดเชื้อเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดของการปลูกผม เนื่องจากเชื้อจะไปทำลายรากผมและสเตมเซลล์รากผมที่ยังอ่อนแอและไม่แข็งแรง และจะยังไปยับยั้งการสร้างเส้นเลือดไปเลี้ยงเส้นผมใหม่อีกด้วย

ภาวะเลือดออกไม่หยุด

หลังทำการผ่าตัดปลูกผมหากพบว่ามีเลือดไหลไม่หยุด คนไข้สามารถใช้นิ้วกดไปในจุดที่เลือดไหลเบาๆ เพื่อห้ามเลือดในเบื่องต้นก่อนได้ การปล่อยให้เลือดไหลออกอย่างต่อเนื่อง  อาจจะเสี่ยงต่อกราฟหลุดจากแรงดันเลือด อ่านเพิ่มเติม

เขียนบทความโดย

นายแพทย์ ปฐมภพ คุณกิตติ (หมอดิว)

Pathompob Khunkitti, MD.

อ่านบทความเพิ่มเติม