จำนวนกราฟต์ที่เหมาะกับแต่ละคนคือเท่าไร
กราฟต์ (graft) คืออะไร
กราฟต์ (graft) คือกอผมที่แพทย์ปลูกผมเจาะออกมาในการผ่าตัดปลูกผมเทคนิค FUE และ FUT จากบริเวณด้านหลัง โดยในหนึ่งกอผมอาจจะมีเส้นผมตั้งแต่ 1-4 เส้นในกอเดียว หากเราจะทำการผ่าตัดปลูกผม จำนวนกราฟต์ที่ใช้เป็นสิ่งที่สำคัญในการประเมินเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด
ที่มาของจำนวนกราฟที่ใช้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องการจะทำการปลูกผม โดยในพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร จะสามารถทำการปลูกผมได้ประมาณ 50 กราฟต์ ซึ่งเป็นจำนวนที่พอที่จะสร้างความหนาแน่นให้เส้นผมดูธรรมชาติ และยังมีความเหมาะสมในการปลูกอีกด้วย
เนื่องจากในแต่ละครั้งที่นำกอผมเข้าไปสู่ผิวหนังนั้น ตัวเข็มจะมีปริมาตรของตัวเอง หากทำการปลูกแน่นเกินไป ปริมาตรของเข็มในพื้นที่จะทำให้มีโอกาสที่จะดันกราฟให้ “เด้ง” ออกมา ส่งผลให้มีโอกาสที่จะปลูกไม่ติด หรือกราฟต์แห้งและตายได้
หากต้องการประเมินแบบคร่าวๆ (มากๆ) สามารถใช้เทคนิคการวาดแนวไรผมลงมา 1 เซนติเมตรจากแนวผมเดิม พื้นที่ที่ได้จากการวาดลงมาตรงๆ นี้ มักจำใช้จำนวนกราฟประมาณ 1,000 กราฟต์ แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ค่อยแม่นยำนัก อาจใช้เพื่อประมาณการคร่าวๆ ได้เท่านั้น
การประเมินโดยแพทย์ที่ท่านจะไปทำการรักษาจะมีความแม่นยำมากที่สุด แต่คุณสามารถประเมินจากที่บ้านได้ง่ายๆ ด้วยการจำแนกระดับของความบางของหนังศีรษะตาม Norwood’s Classification
โดยจำนวนกราฟต์ที่ใช้ เราแบ่งให้ดูได้ตามตารางนี้
Norwood Class |
จำนวนกราฟต์ที่ใช้โดยประมาณ (เฉพาะด้านหน้า) |
IIa |
1400-2200 |
III |
1600-2400 |
IIIa |
2000-3000 |
IV |
2200-3400 |
IVa |
2400-3600 |
V |
2600-3800 |
Va |
2800-4200 |
VI |
3000-4600 |
VII |
3200-5000 |
จะสังเกตว่าในบางลักษณะของภาวะผมบาง มีความจำเป็นต้องใช้จำนวนกราฟต์ที่ค่อนข้างเยอะ ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำได้ในการปลูกผมแค่ครั้งเดียว ในบางเคสจึงมีความจำเป็นต้องทำการปลูกครั้งที่สอง ในระยะเวลาที่ห่างกันประมาณ 1 ปี เพื่อเติมเต็มจุดที่มีปัญหาให้ครบ
โดยการปลูกครั้งที่สอง อาจจะมีเป้าหมายอื่นร่วมด้วย เช่น เพิ่มความหนาแน่นของบริเวณที่ปลูกได้ ทำให้แนวไรผมสวยงามขึ้น หรือปลูกเพิ่มในจุดที่มีการหลุดร่วงมากขึ้นตามอายุ
ใช้จำนวนกราฟต์ที่เยอะในครั้งเดียวเลยดีหรือไม่
การปลูกผมโดยใช้จำนวนกราฟต์ที่เยอะมากในครั้งเดียวอาจมีผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากในการปลูกผมแบบจำนวนกราฟต์สูงหนึ่งครั้ง เส้นผมจะต้องอยู่นอกร่างกายนานขึ้น มีความเสี่ยงที่จะทำให้กราฟต์ตายมากขึ้น
อีกทั้งยังต้องใช้เจ้าหน้าที่ทีมแพทย์มากขึ้นเพื่อคัดกราฟต์ที่มีความแข็งแรง และยังมีเรื่องของการปลูกที่แน่นในพื้นที่ที่มากขึ้นจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่เสียเลือด และ บริเวณผิวหนังที่จะทำการปลูกอาจไปเลี้ยงได้ไม่มากพอ ทำให้กราฟต์ไม่สามารถขึ้นได้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม การปลูกผมโดยในจำนวนกราฟต์สูงในครั้งเดียวก็มีข้อดีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นผิวหนังบริเวณที่ทำการปลูก ยังเป็นผิวหนังที่ปกติ ยังไม่ผ่านการปลูกผมก่อน ทำให้การปลูกทำได้ง่ายขึ้น สามารถเจาะรูบริเวณผิวหนังได้คมขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กราฟต์อยู่ติดในรูขุมขนมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น หนังศีรษะที่ไม่เคยผ่านการปลูกผมมาก่อนมีการไหลเวียนเลือดที่ดีอีกด้วย นอกจากลักษณะของหนังศีรษะด้านหน้าแล้ว หนังศีรษะด้านหลังยังมีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีแผลเป็นจากการปลูกผมครั้งแรก ทำให้การเจาะกราฟต์เพื่อนำมาใช้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
สิ่งสุดท้ายที่จะลืมไปไม่ได้ในการประเมินกราฟต์ที่ใช้ คือปริมาณและความหนาแน่นของเส้นผมด้านหลัง หากแพทย์ทำการประเมินจำนวนกราฟต์ที่ต้องใช้ในด้านหน้าแล้ว แต่ผมด้านหลังมีค่อนข้างน้อย หรือค่อนข้างบาง แพทย์อาจจะตัดสินใจที่จะทำการปลูกบริเวณด้านหน้า หรือแนวไรผม ให้มีความแน่นมากที่สุดก่อน และกระจายกราฟต์ออกมาด้านหลังเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด