ปลูกผม FUE เจ็บไหม

ปลูกผมเจ็บแค่ไหน-01

ปลูกผม FUE เจ็บไหม

หลายท่านอาจจะตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการที่จะปลูกผมถาวร เพื่อให้แนวไรผมด้านหน้าเลื่อนลงมา กรอบหน้าชัดเจนขึ้น ดูอ่อนวัยลง แต่สิ่งเดียวที่ยังเป็นอุปสรรคคือ ความ “กลัวเจ็บ”ของขั้นตอนการผ่าตัดปลูกผม เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นการผ่าตัดแล้ว เราอาจจะนึกถึงความเจ็บขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ในบทความนี้เราจะมาคุยกันถึงขั้นตอนต่างๆ ในการผ่าตัดว่ามีจุดไหนที่ต้องเจ็บแน่ๆ หรือจุดไหนที่คนทั่วไปคิดว่าเจ็บแต่จริงแล้วไม่เจ็บ เพื่อเป็นข้อมูลให้ทุกคนทราบและเตรียมใจไวได้ครับ

เจาะเลือด

ก่อนทำการผ่าตัดทุกครั้ง จะต้องมีการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจเตรียมความพร้อมเสมอครับ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจทั่วไปเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือตรวจหาโรคประจำตัวที่อาจส่งผลต่อการปลูกผมก็ตาม โดยการเจาะเลือด คุณพยาบาลจะทำการเจาะบริเวณเส้นเลือดหลังมือ หรือบริเวณข้อพับข้อศอก แล้วจึงนำเลือดไปตรวจขั้นตอนนี้จะเหมือนตรวจสุขภาพทั่วไปครับ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

หรือในบางครั้ง หลังจากได้เลือดเพื่อนำไปตรวจแล้ว อาจจะเก็บเลือดเพิ่มอีกเล็กน้อยในการเจาะครั้งเดียวกันเพื่อนำไปปั่นเป็น PRP ซึ่งการฉีด PRP ในขั้นตอนการปลูกผมจะช่วยทำให้ผมที่ขึ้นใหม่มีความแข็งแรงขึ้น อีกทั้งคนไข้จะได้ไม่ต้องเจ็บหลายรอบด้วยครับ

ฉีดยาชาครั้งแรก

ในการผ่าตัดปลูกผมถาวรเราจะต้องมีการฉีดยาชา 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเราจะฉีดยาชาเพื่อให้บริเวณท้ายทอยไม่มีความรู้สึก เพื่อจะได้สามารถเจาะนำกราฟที่แข็งแรงออกมาได้ โดยบริเวณท้ายทอย คุณหมอจะมีเทคนิคการฉีดยาชาต่างกันไป เช่น การฉีดแบบ 4 จุด (nerve block) เป็นการฉีดบริเวณต้นขั้วของเส้นประสาท greater occipital nerve และ lesser occipital nerve ทำให้ส่วนปลายไม่ได้รับความรู้สึกเจ็บ เป็นวิธีที่ดีเนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ยาชาเยอะ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการได้รับยาชาเกินขนาดและลดอาการไม่พึงประสงค์ได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่เจ็บน้อยกว่าเพราะไม่ต้องโดนเข็มแทงเยอะด้วย

การฉีดแบบ 10-20 จุด (ring block) เป็นการฉีดยาชาเข้าไปรอบบริเวณที่จะทำการเจาะกราฟออกมา โดยเป็นการฉีดกระจายทั่วๆ ทำให้ผิวหนังชาบริเวณศีรษะชาด้วยฤทธิ์ของยาชาปกติเอง วิธีการนี้จะเจ็บกว่าเล็กน้อยเพราะว่าต้องโดนเข็มแทงค่อนข้างหลายจุด และยังเสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาดมากกว่า

คุณหมอของคอสโมคลินิกใช้วิธี nerve block เท่านั้นเพื่อให้ปลอดภัยและให้คนไข้รู้สึกสบายที่สุด

ฉีดยาชาครั้งที่สอง

การฉีดยาชาครั้งที่สองเป็นการฉีดเพื่อให้ผิวหนังบริเวณด้านหน้าเราต้องการจะปลูกไม่มีความรู้สึก ซึ่งการฉีดยาชาบริเวณด้านหน้าก็สามารถแบ่งเป็น 2 เทคนิคเช่นเดียวกันกับการฉีดด้านหลัง

การฉีด nerve block บริเวณด้านหน้าก็จะเป็นการฉีด 4 จุดเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการฉีดยาชาเข้าที่ต้นขั้วของเส้นประสาท supratrochlear nerve และ supraorbital nerve ทำให้คนไข้ชาตั้งแต่บริเวณหัวคิ้ว ขึ้นไปจนถึงกลางศีรษะ เป็นวิธีที่เจ็บน้อยเนื่องจากแทงเพียง 4 จุดและเสี่ยงน้อยกว่าเนื่องจากไม่ต้องใช้ยาเยอะ

การฉีดแบบ ring block บริเวณด้านหน้าก็ต้องมีการฉีด 10-20 จุดเช่นกัน จะเจ็บมากกว่าแบบแรก เสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาดมากกว่า และการฉีด ring block บริเวณด้านหน้า ยังทำให้มีโอกาสเห็นรอยช้ำบริเวณหน้าผากอีกด้วยครับ

คืนแรกหลังยาชาหมดฤทธิ์

บางท่านอาจจะกลัวว่าถ้ายาชาหมดฤทธิ์แล้ว จะเจ็บหนัก รู้สึกศีรษะระบม เหมือนเช่นกับการผ่าตัดใหญ่อื่นๆ แต่ความจริงแล้วอาการจะไม่ได้เจ็บถึงขนาดนั้นเลยครับ ส่วนใหญ่พูดตรงกันว่าแทบไม่เจ็บเลย หรือเจ็บน้อยกว่าผ่าฟันคุดเสียอีก ในเคสที่มีอาการปวดสามารถกินยาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอลก็สามารถควบคุมอาการปวดได้เป็นอย่างดีแล้ว

การทำแผล

การทำแผลอาจจะฟังดูเจ็บ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่เจ็บอีกนั่นแหละครับ เนื่องจากแผลปลูกผมเป็นแผลสะอาด ไม่มีคราบดินหรือคราบฝุ่น ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการถูหรือขัดบริเวณแผลด้านหลังเลย อีกทั้งการทำแผลด้วยน้ำเกลือซึ่งมีค่าความเค็มพอกันกับผิวของคนเรา ก็จะยิ่งช่วยทำให้เจ็บน้อยลงไปอีก แผลด้านหลังก็จะค่อยๆ แห้งไปเองในที่สุดครับ

การฉีด PRP

หลังปลูกผมเสร็จเราจะทำการฉีด PRP ทันทีเพื่อกระตุ้นให้รากผมใหม่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้บอกได้เต็มปากเต็มคำเลยว่าไม่เจ็บแน่นนอน เพราะยาชายังออกฤทธิ์เต็มที่อยู่ครับ

เป็นยังไงบ้างครับ ขั้นตอนการปลูกผมอาจจะมีเยอะ แต่ว่าแต่ละขั้นตอนนั้นไม่เจ็บอย่างที่คิด หากมีขั้นตอนไหนที่อาจทำให้เกิดความเจ็บ คอสโมคลินิกเราก็จะเสาะหาวิธีที่ทำห้อาการเจ็บลดลง ทำให้ประสบการณ์ปลูกผมของทุกคนเป็นไปได้ด้วยดีนั่นเองครับ

content klip-0q1